กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553







ตอบ ข้อ 1. ระยาทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น

สืบค้นข้อมูล

ระยะ ทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 149,000,000,000 เมตร หรือ 92,600,000 ไมล์ครับ  ที่มาประมาณ 149 หรือ   152 ล้าน km 149คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เปงวงรี แต่ส่วนป่องของโลกจะร้อนเพราะอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์อากาศจะร้อนมาก 152 ล้านkm เปงวงโคจรโลกเราตามปัจจุบัน อีกประมาณ 5000 ล้านปีก็จะไม่มีโลกใบนี้แล้ว เพราะดวงอาทิตย์กำลังขยายตัวและเกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดาวเคราะดวงในจะถูกดวงอาทิตย์กลืนกินเข้าไป
แงๆๆๆ สงสารโลกเราจังอีก 5000 ล้านปีจะถูกดวงอาทิตยฺกลืนกิน













ตอบ ข้อ 3. อัตราการเย็นตัวของลาวา

สืบค้นข้อมูล

ใน บรรดากาแล็กซีจำนวนมากที่รวมกันเป็นเอกภพนั้น มีอยู่กาแล็กซีหนึ่งที่เรารู้จักกันดีที่สุด นั่นคือ ทางช้างเผือก เนื่องจากเป็นกาแล็กซีที่เราตั้งรกรากอยู่  และเนื่องจากว่าทางช้างเผือกนี้มีส่วนปลายด้านหนึ่งเป็นแนวราบซึ่งเป็นที่ อยู่ของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นดาวบริวาร  ทำให้เราได้แต่เฉพาะด้านข้างของมันเมื่อมองไปบนฟ้าในเวลากลางคืน  และจะแลเห็นมันเป็นเหมือนแถบสีขาวสว่างสุกใสแถบหนึ่งพาดอยู่บนฟากฟ้าจาก ข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
ประวัติ (HISTORY
           อริสโตเติล (Aristotle) คิดว่าแถบสีขาวที่พาดข้ามฟ้าเป็นความปั่นป่วนอย่างหนึ่งของบรรยากาศในคริสต์ ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นได้เป็นครั้งแรกแล้วนั้น  กาลิเลโอก็ได้พบว่าแถบสีขาวนี้แท้ที่จริงประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากและ ไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเราเลยแม้แต่น้อย  ต่อมาก็ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ทีละดวงสองดวง และตั้งแต่นั้นมา คำว่าทางช้างเผือก (the Milky Way) ก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าเอกภพ (the Universe) แต่ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใหม่  กลับพบว่ามีหมู่ของดาวฤกษ์ (Clusters of Stars) อื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล  นั่นคือกาแล็กซีใหม่จำนวนมาก  ดังนั้นเอกภพจึงไม่ใช่เป็นแค่ทางช้างเผือกอีกต่อไป  แต่มันคือที่รวมของกาแล็กซีต่าง ๆ รวมทั้งกาแล็กซีของเราด้วย
รูปร่างของกาแล็กซีของเรา (THE SHAPE OF OUR GALAXY)

           เมื่อเรามองทางช้างเผือก  เราจะแลเห็นว่ามันเป็นรูปแถบยาวแถบหนึ่ง  แต่นั้นเป็นแต่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา เพราะว่าเราอยู่ในระนาบเดียวกัน  ที่จริงแล้วทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีรูปเกลียวก้นหอย (spiral)  ที่ตรงกลางมีรูปคล้ายเลนส์หรือจานแบนใบหนึ่งและมีแขนยื่นออกมาจากส่วนกลาง นั้น 4 แขน  ดวงอาทิตย์และโลกของเราอยู่ตรงปลายสุดของ 1 ใน 4 แขนนี้

วิวัฒนาการของทางช้างเผือก (EVOLUTION OF THE MILKY WAY)
            ดูเหมือนว่าทางช้างเผือกนั้นแต่เดิมเป็นกาแล็กซีรูปทรงกลมที่ หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วต่ำ  ต่อมาเมื่อสสารระหว่างดวงดาวตรงใจกลางมีมากขึ้นทำให้มีความหนาแน่นเพิ่ม ขึ้นและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองก็เพิ่มขึ้นด้วย  เป็นเหตุให้มันค่อย ๆ  แผ่เบนออกกลายเป็นรูปจานอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน  และเพราะว่ามีดาวฤกษ์ได้ก่อตัวขึ้นตรงบริเวณชายขอบจานทำให้เกิดเป็นแขนหลาย แขนยื่นออกมา  จนในที่สุดก็เกิดเป็นรูปเกลียวก้นหอยรูปหนึ่งที่มีแขน 4  แขน  กระบวนการนี้กินเวลาประมาณ 10,000 ล้านปี    ใจกลางของทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  15,000  ปีแสง  และมีความหนาราว  2,000  ปีแสง    มีการคำนวณกันว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์ประมาณ  300,000  ดวง  ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีของเรา











ตอบ ข้อ 3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก
สืบค้นข้อมูล

เทือกเขาหิมาลัย (อังกฤษ: Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางเหนือ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางใต้ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดใน โลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุ งคา (Kanchenjunga). ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) [ต้องการอ้างอิง]
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล — เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ





 
ตอบ 4.หินดินดาน (Shale)
เป็น หินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบางๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา และเซรามิก




ตอบ 2. แผ่นยูเนเซียกับแผ่นแปซิฟิก
ธรณี แปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการ สังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหล ของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสต ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไป ด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้น ดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้น ดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีก ครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียก ว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้น จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
  ที่ มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81



 สืบค้นข้อมูล
เปลือก โลกมิได้เป็นแผ่นเดียวต่อเนื่องติดกันดังเช่นเปลือกไข่ หากแต่เหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า “เพลต” (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป กินอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอด






ตอบข้อ 4.หินตะกอน
สืบค้นข้อมูล
หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตก ตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุ พังของหินชนิดใดก็ได้ ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ





ตอบข้อ 3.ชั้นเนื้อโลก
สืบค้นข้อมูล
ชั้นเนื้อโลก (Mantle)
                  ชั้น เนื้อโลกเป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นเปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร ใต้ตำแหน่ง Moho ลงไป ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวทั้งที่เป็นคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่าชั้น เนื้อโลกประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่มีความหนาแน่นสูง และการที่คลื่นทุติยภูมิสามารถเดินทางในชั้นเนื้อโลกได้ย่อมแสดงว่าชั้นเนื้อโลกเป็นของแข็ง ส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกมีการเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบ แต่อย่างไรก็ดีส่วนประกอบของชั้นเนื้อโลกยังมี ลักษณะเป็นเนื้อเดียวมากกว่าชั้นเปลือกโลก ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน
1. ชั้นเนื้อโลกส่วนบน (upper mantle) ประกอบด้วย dunite, echogite และ peridotite
2. ชั้นเนื้อโลกส่วนล่าง (lower mantle) ประกอบด้วยสารจำพวก oxides และ silicate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น